หน่วยที่ 4 จิตวิทยาการเรียนการสอน
วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555
หน่วยการเรียนที่ 4 จิตวิทยาการเรียนการสอน
จิตวิทยา “จิตวิทยา”เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิตโดยศึกษาว่าสิ่งเหล่านี้ได้อิทธิพลอย่างไรจากสภาวะทางร่างกายสภาพจิตใจและสิ่งแวดล้อมภายนอก ประเภทของพฤติกรรม ๑. พฤติกรรมภายนอก (Overt Behavior) คือ การกระทำที่แสดงออกมาให้สังเกตเห็นได้ รับรู้ได้ หรือใช้เครื่องมือตรวจสอบได้ ๒. ๒. พฤติกรรมภายใน (Covert Behavior) คือ กระบวนการทางจิต (Mental Behavior) พฤติกรรมที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า หรือใช้เครื่องทางวิทยาศาสตร์ตรวจสอบได้โดยตรง เช่น การคิด อารมณ์ ความรู้สึก ความจำ การลืม การวิเคราะห์หาเหตุผล ประสบการณ์ต่าง ๆ จุดมุ่งหมายของจิตวิทยา ๑. เพื่อให้ผู้ศึกษาเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมภายนอก หรือพฤติกรรมภายใน ที่เรี่ยกว่า กระบวนการทางจิต อันจะทำให้เข้าใจตนเองและผู้อื่นได้ดีขึ้น ๒. เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถอธิบายพฤติกรรม ทั้งหลายที่เกิดขึ้นได้ว่ามีปัจจัยใดบ้างที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดพฤติกรรมต่าง ๆ โดยนักจิตวิทยาทั้งหลายจะใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการค้นหาคำตอบ เพื่ออธิบายพฤติกรรมทั้งหลายเหล่านั้น ๓. เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถทำนายพฤติกรรม หมายถึงการคาดคะแนผลที่จะเกิดขึ้นจากสาเหตุต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง ๔. เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถควบคุมพฤติกรรม ที่ไม่พึงประสงค์ให้ลดลงหรือหมดไป และขณะเดียวกันให้สามารถเสริมสร้างพฤติกรรมที่พึงปรารถนาให้เกิดขึ้นใหม่ได้ด้วย ๕. เพื่อให้ผู้ศึกษานำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประโยชน์ของจิตวิทยา ๑. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ ๒. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจพัฒนาการของมนุษย์ ๓. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจและรู้พื้นฐานทางสรีรวิทยาที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ ๔. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจการรับสัมผัสและการรับรู้ ๕. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจ ๖. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจสิ่งสำคัญที่เกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้และการถ่ายโยงการเรียนรู้ ๗. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจเชาวน์ปัญญาและตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อเชาว์ปัญญาของมนุษย์แต่ละบุคคล ๘. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจวิธีการประเมินและวัดบุคลิกภาพได้และแนวทางในการปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเอง ๙. ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจความหมายของสุขภาพจิตและสาเหตุที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพจิต รู้วิธีการบำบัดรักษาผู้มีอาการทางจิตและการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีให้กับตนเองและผู้อื่น ๑๐. ทำให้ผู้ศึกษามีวิธีในการปรับตัว มีกลวิธานในการป้องกันตนเองและเข้าใจข้อดีและข้อเสียของการให้กลวิธานในการป้องกันตนเอง ๑๑. ทำให้ผู้ศึกษาเกิดการรับรู้พฤติกรรมทางสังคม (Social Perception) ที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเองและสังคมได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ แนวทางในการศึกษา ศึกษาและสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบในห้องทดลอง นำผลการทดลองไปใช้ในสถานการณ์จริงในห้องเรียนค้นหาวิธีการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ศึกษาเกี่ยวกับการวัดและการประเมินทางการศึกษา ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆของนักเรียน จิตวิทยาการเรียนการสอน จิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นศาสตร์อันมุ่งศึกษาการเรียนรู้และพฤติกรรมของผู้เรียนในสถานการณ์การเรียนการสอน พร้อมทั้งหาวิธีที่ดีที่สุดในการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน ความรู้ที่อยู่ในขอบข่ายการเรียนการสอน 1. ความรู้เรื่องพัฒนาการมนุษย 2. หลักการของการเรียนรู้และการสอนประกอบด้วยทฤษฏีการเรียนรู้และการเรียนรู้ชนิดต่างๆ 3. ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการเรียน 4. การนำเอาหลักการและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาการเรียนการสอน จุดมุ่งหมายของการนำจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน ประการแรก มุ่งพัฒนาองค์ความรู้ ของมนุษย์ในสถานการณ์การเรียนการสอน ประการที่สอง นำเอาองค์ความรู้ข้างต้นมาสร้างรูปแบบเชิงปฏิบัติเพื่อครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน หลักการสำคัญ 1. มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน 2. มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน 3. มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่ 4. มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน -ทำให้รู้จักลักษณะนิสัยของผู้เรียน -ทำให้เข้าใจพัฒนาการบุคลิกภาพบางอย่างของผู้เรียน -ทำให้ครูเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล -ทำให้ครูทราบว่ามีองค์ประกอบใดบ้างที่มีผลกระทบต่อสัมฤทธิ์ทางการเรียน เช่น แรงจูงใจ ความคาดหวังเชาวน์ปัญญา ทัศนคติ ฯลฯ -ทำให้ครูทราบทฤษฏี หลักการเรียนรู้ รวมทั้งหลักการสอนและวีธีการสอน -ทำให้ครูวางแผนการสอนได้อย่างเหมาะสม -ทำให้ครูจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้สอดคล้องกับพัฒนาการ รวมทั้งสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการปกครองชั้นเรียน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)